วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

แนะนำการปฏิบัติ

ดูกำหนดการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานสำหรับบุคคลทั่วไป ณ ศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ วัดผาณิตาราม
คลิกที่นี่

ข้อที่ควรทราบ
(1) ความกังวล หรือความห่วงในสิ่งที่เคยมีเคยเป็นย่อมมีประจำใจของปุถุชน
ความกังวลนี้เป็นอุปสรรคแก่การปฏิบัติอยู่มาก เพราะไม่อาจทำจิตให้เป็นสมาธิได้ เนื่องจากคอยกังวลถึงสิ่งนั้น
สิ่งนี้อยู่
(2) สถานที่ย่อมเป็นไปด้วยความสงบ และสะดวกแห่งการปฏิบัติ
ความเป็นไปของสถานที่ที่เหมาะสมตามโบราณท่านว่าจะต้องประกอบด้วยคุณลักษณะ 5 ประการ ซึ่งในการนี้ขอ
รวบรัดถึงความหมายว่าการปฏิบัติกับสำนักวิปัสสนานั้นจะ มีคุณสมบัติทั้ง 5 ประการนั้นครบถ้วน

(3) อาหาร ควรพึงบริโภคอาหารให้น้อยกว่าธรรมดา
การรับประทานในแต่ละมื้อไม่ควรรับประทานจนอิ่มอย่างปกติ ดังคำกล่าวที่ว่า " ภิกษุพึงงดไม่บริโภค (อาหาร)
เมื่อเหลืออีก 4 หรือ 5 คำ (จะอิ่ม) บริโภคน้ำก็พอดีแล้วเพื่อความอยู่ผาสุข แห่งผู้บำเพ็ญเพียร "

(4) การนอน ให้นอนแต่ประมาณ ไม่มาก และไม่น้อยเกินไป
เพราะผู้ปฏิบัติไม่ได้ตรากตรำทำงานเหมือนปกติ กิจที่จะพึงทำมีเพียงเดินจงกรม และนั่งสมาธิ และดูอิริยาบถ
ทางกายอื่นๆ กับสภาวะที่เกิด ขึ้นทางจิตเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่จำเป็นเลยต้องนอนให้มากเหมือนปกติ

(5) ความเพียร สิ่งที่สำคัญมากในการปฏิบัติถ้าผู้ปฏิบัติขาดซึ่งความเพียรแล้ว การปฏิบัติก็จะไม่ได้ผล ผู้ปฏิบัติ
จักต้องปณิธานไว้อย่างแน่วแน่ว่า ถึงอย่างไรก็จะต้องพยามปฏิบัติไปจนกว่าจะได้บรรลุมรรคผล จะไม่ย่อท้อต่อ
อุปสรรคทั้งปวงหากจะพึงเกิดขึ้น

(6) ความกำหนัด ในกามารมณ์ควรงดเว้นอย่างเด็ดขาด
การยุ่งเกี่ยวเรื่องกามารมณ์ จะทำให้จิตใจฟุ้งซ่าน และวุ่นวายใฝ่ฝันอยู่ในทางโลกิยสุข

(7) ธุรกิจ จะต้องงด และอย่าเอาใจใส่ชั่วคราวระหว่างที่ปฏิบัติ
เพราะถ้ายังมัวยุ่งกับหน้าที่ หรือธุรกิจก็จะต้องหยุดปฏิบัติวิปัสสนาไปชั่วเวลาหนึ่ง ซึ่งจะทำให้สมาธิที่มีอยู่
เสื่อมลง และเมื่อมาปฏิบัติใหม่จะต้องเสียเวลาปฏิบัติเพื่อให้สมาธิคงคืนมา

(8) การคบหา สมาคม การติดต่อพูดคุย จะต้องงดระหว่างที่ปฏิบัติ
เพราะเมื่อมีการติดต่อคลุกคลีกันแล้ว ก็จะทำให้จิตใจเพลินไปตามอารมณ์ที่ชอบ และไม่มีการใช้สติพิจารณา
กำหนดอาการ ที่ปรากฏทางกายหรือทางจิต ทำให้ไม่มีสมธิ

(9) อิริยาบถ ในทุกขณะพึงใช้สติรับรู้ถึงอาการความเคลื่อนไหวต่างๆ
การเคลื่อนไหวทางกาย ไม่ว่าจะเป็นอิริยาบถใหญ่, อิริยาบถย่อย, หรือการทำกิจวัตรต่างๆ จักต้องทำอย่างช้าๆ
ทั้งนี้ก็เพื่อจิตจะได้ตามพิจารณากำหนดได้ทันเป็นปัจจุบัน

(10) การสำรวมตน เพื่อไม่ให้หวั่นไหวไปกับอารมณ์ใดๆที่มากระทบ
ผู้ปฏิบัติควรจักสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่ให้หวั่นไหวเมื่อมีอารมณ์ที่มากระทบ ทั้งนี้เพราะถ้าไม่
สำรวมแล้ว ใจจะฟุ้งซ่าน ขาดสติในการกำหนดรู้อาการที่ปรากฏทางกาย และจิตใจ นอกจากนี้ จะเรียกได้ว่ามี
ศีลไม่บริสุทธิ์ ทังนี้เพราะการสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เป็นศีลประเภทหนึ่งที่เรียกว่า "อินทรียสังวรศีล"
ซึ่งถ้าไม่บริสุทธิ์แล้ว สมาธิก็จะไม่เกิด เมื่อสมาธิไม่มี ปัญญาก็จะไม่เกิดขึ้นตาม

(11) พึงงดเว้นการอ่านหนังสือ แม้จะเป็นหนังสือธรรมะก็ตาม
เพราะจะทำให้จิตพะวงอยู่เสมอ เพราะจะทำให้จิตฟุ้งซ่าน หน้าที่หลักพึงจำไว้เสมอว่าให้ระลึกศึกษากับสิ่งที่
มากระทบ ทางทวารต่างๆ อยู่เสมอ ไม่ต้องกังวลถึงสิ่งอื่นใด

(12)หลักสุดท้าย คือหลักธรรมในการอยู่ร่วมกัน
เมื่อผู้ปฏิบัติต้องอยู่ร่วมกันเพื่อการปฏิบัติแล้ว จำเป็นต้องรับรู้หลักธรรมสำหรับการอยู่ร่วมกันซึ่งมีองค์ประกอบ
6 ประการกล่าวคือ
12.1 ขันติ : ความอดทน
12.2 เมตตา : ความปราถนาดีต่อผู้อื่น
12.3 เสียสละ : ให้ปันช่วยเหลือผู้อื่นในขอบเขตที่จะพอทำได้ โดยไม่เห็นแก่ตัว
12.4 ให้อภัย : ไม่ถือโทษใคร
12.5 ปล่อยวาง : ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งทั้งปวงลงให้มากเท่าที่จะพึงทำได้
12.6 ไม่ก่อความรำคาญให้แก่เพื่อนร่วมผึก : เช่น ทำเสียงดัง หรือคุยกัน เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น